บริษัท ไอแซค มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
โทร 02-7350581-8
โทร 02-7350581-8
  • th

กฎหมาย Fire Alarm


กฎหมาย Fire Alarm

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

อ.เมธินพัฐ บวรธรรมรัตน์

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓

1. อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ

(อาคารสูง-อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้โดยมีความสูงตั้งแต่ ๒๓.๐๐ เมตร ขึ้นไป / อาคารขนาดใหญ่พิเศษ-อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป)

2. อาคารชุมนุมคน

(อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป )

3. อาคารตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

การตรวจสอบอาคาร-กรมโยธาธิการและผังเมือง

1. กฎกระทรวง กําหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. ๒๕๔๘

2. กฎกระทรวง กําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๘

กฎกระทรวงกําหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ

ข้อ ๑ อาคารประเภทดังต่อไปนี้ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๓๒ ทวิ

1. โรงมหรสพ

2. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจํานวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป

3. สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป

4. อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

5. อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ ใช้สอย ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป

6. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสําหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมี พื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

ข้อ ๒ ในการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารสําหรับอาคารตามข้อ ๑ (๔)

1. อาคารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารเป็นเวลา 7 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

2. อาคารที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

ประเภทการตรวจสอบอาคาร

1. การตรวจสอบใหญ่ ให้กระทําทุก 5 ปี โดยจัดให้มี

   - แผนปฏิบัติการตรวจบํารุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารและคู่มือปฏิบัติการตามแผนฯ

   - จัดให้มีแผนการตรวจสอบอาคารฯประจําปี และแนวทางการตรวจสอบตามแผน

2. การตรวจสอบประจําปี ให้กระทําในช่วงปีระหว่างการตรวจสอบใหญ่เป็นประจําทุกปี

หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานการตรวจสอบอาคาร

(๑) หลักเกณฑ์ตามที่ได้กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือตามกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการก่อสร้างอาคารนั้น หรือ

(๒) มาตรฐานความปลอดภัยของสถาบันของทางราชการ สภาวิศวกร หรือสภาสถาปนิก

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับสําหรับพื้นผิวแนวราบ

- สําหรับพื้นผิวแนวราบ ยกเว้นช่องทางเดิน ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับบนเพดานให้มีระยะรัศมีจากจุดใดๆ บนเพดานถึงอุปกรณ์ตรวจจับตัวใกล้ที่สุดต้องไม่เกิน 5.10 เมตร และระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 7.2 เมตร สําหรับช่องทางเดิน ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้มีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับ ไม่เกิน 9.5 เมตร (เมื่อช่องทางเดินกว้างไม่เกิน 3.6 เมตร)

Smooth Ceiling.

One of the following requirements shall apply:

(1) The distance between detectors shall not exceed their listed spacing, and there shall be detectors within a distance of one-half the listed spacing, measured at right angles from all walls or partitions extending upward to within the top 15 percent of the ceiling height.

(2) All points on the ceiling shall have a detector within a distance equal to or less than 0.7 times the listed spacing (0.7S)..

การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์

ข้อ ๑๗ การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารอย่างน้อยต้องทําการตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้

(ค) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

(๑) บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ

(๒) เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน

(๓) ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน

(๔) ระบบไฟฟ้าสํารองฉุกเฉิน

(๕) ระบบลิฟต์ดับเพลิง

(๖) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

(๗) ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง

(๘) ระบบการจ่ายนํ้าดับเพลิง เครื่องสูบนํ้าดับเพลิง และหัวฉีดนํ้าดับเพลิง

(๙) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

(๑๐) ระบบป้องกันฟ้าผ่า

ข้อ ๑๙ ในการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบใหญ่ หรือการตรวจสอบประจําปี ให้ผู้ตรวจสอบจัดทํารายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่ทําการตรวจสอบนั้นให้แก่เจ้าของอาคาร

   - ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบพบว่าอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารบางส่วนหรือบางรายการไม่ผ่านหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ ๑๘ ให้ผู้ตรวจสอบจัดทําข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารเพื่อให้อาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กําหนดให้แก่เจ้าของอาคารด้วย

ข้อ ๒๒ ให้เจ้าของอาคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ มีหน้าที่ในการจัดให้มี การตรวจบํารุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารตามคู่มือปฏิบัติของผู้ผลิตหรือผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ของอาคาร หรือตามแผนปฏิบัติการการตรวจบํารุงรักษาที่ผู้ตรวจสอบกําหนด และจัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบํารุงรักษาอาคารตามช่วงระยะเวลาที่ได้กําหนดไว้

ข้อ ๒๓ ให้เจ้าของอาคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ และเป็นอาคารที่การก่อสร้าง ได้ดําเนินการแล้วเสร็จหรือได้รับใบรับรองตามมาตรา ๓๒ มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี จัดให้มีการตรวจสอบ อาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประเภทการตรวจสอบใหญ่ตามข้อ ๑๓ (๑) เป็นครั้งแรกให้แล้วเสร็จ และเสนอรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

กฎหมาย-กรมโยธาธิการและผังเมือง

-กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

-ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ข้อ ๑๖ ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(๑) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเพื่อให้หนีไฟที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึง

(๒) อุปกรณ์แจ้งเหตุที่มีทั้งระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์ตาม (๑) ทํางาน

ข้อ ๑๔ อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสํารองสําหรับกรณีฉุกเฉินแยกเป็นอิสระจากระบบอื่น และสามารถทํางานได้โดยอัตโนมัติ เมื่อระบบจ่ายไฟฟ้าปกติหยุดทํางาน แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าสํารองสําหรับกรณีฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้เพียงพอตาม หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) จ่ายพลังงานไฟฟ้าเป็น เวลาไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง สําหรับเครื่องหมายแสดงทางฉุกเฉิน ทางเดิน ห้องโถง บันได และระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้

(๒) จ่ายพลังงานไฟฟ้าตลอดเวลาที่ใช้งานสําหรับลิฟต์ดับเพลิง เครื่องสูบนํ้าดับเพลิงห้องช่วยชีวิตฉุกเฉิน ระบบสื่อสาร เพื่อความปลอดภัยของสาธารณะและกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรือสุขภาพอนามัยเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง

กฎหมาย-กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 143ง ลงวันที่ 30 กันยายน 2552

ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

1. ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (หมวด ๒)

2. เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (หมวด ๓)

3. แหล่งนํ้าดับเพลิง (หมวด ๔)

4. ระบบเครื่องสูบนํ้าดับเพลิง (หมวด ๕)

5. ระบบหัวกระจายนํ้าดับเพลิงอัตโนมัติ (หมวด ๕)

6. ระบบโฟมดับเพลิง (หมวด ๕)

7. ระบบก๊าซดับเพลิง (หมวด ๕)

8. การป้องกันอัคคีภัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (หมวด ๘)

คํานิยามตามกฎหมาย

“ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้” หมายความว่า เครื่องตรวจจับควันหรือความร้อนหรือเปลวไฟที่ทํางานโดยอัตโนมัติ และอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบกดหรือดึงเพื่อให้สัญญาณเตือนภัย

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

หมวด ๒ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ข้อ ๔ อาคารโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้ครอบคลุม ทั่วทั้งอาคารตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีคนงานปฏิบัติงานประจําและมีการติดตั้งหรือใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือจัดเก็บวัตถุไวไฟหรือวัสดุติดไฟได้ง่ายจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ

   - อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องเป็นชนิดที่ให้สัญญาณโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากระบบแสงสว่างและที่ใช้กับเครื่องจักร หรือมีระบบไฟสํารองที่จ่ายไฟสําหรับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้ไม่น้อยกว่า๒ ชั่วโมง

ข้อ ๕ การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ

หมวด ๖ การตรวจสอบ ทดสอบ และบํารุงรักษาระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ

ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องตรวจสอบ ทดสอบ และบํารุงรักษาระบบและอุปกรณ์สําหรับการป้องกันและระงับอัคคีภัยให้สามารถพร้อมทํางานได้ตลอดเวลาโดยการตรวจสอบ ทดสอบ และ บํารุงรักษาระบบ และ อุปกรณ์เหล่านั้นให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ หรือมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ

ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดเก็บเอกสารการตรวจสอบ ทดสอบบํารุงรักษาระบบและอุปกรณ์ตามข้อ ๒๖ โดยให้เก็บรักษาไว้ที่โรงงาน พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้

ข้อ ๒๖ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของโรงงานดําเนินการตรวจความปลอดภัยด้านอัคคีภัยเป็นประจําอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยจัดทําเป็นเอกสารหลักฐานที่พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ หากพบสภาพที่เป็นอันตรายที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ต้องดําเนินการปรับปรุงแก้ไขโดยทันที

บริษัท อลามส์ เซนเตอร์ จำกัด
392 ( มหาดไทย 1) ซ.ลาดพร้าว 122 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
T. 0-2539-7470-1 www.alarmscenter.com